14-october-Great-tragic-day

สาเหตุและจุดเริ่มต้น เหตุการณ์ 14 ตุลา ‘วันมหาวิปโยค’

หลังจากเวลาผ่านมาเนิ่นนานถึง 40 ปีเต็ม ! หลังจากเกิดเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ สะเทือนใจประชาชนไปทั่วประเทศ จากการเรียกร้องประชาธิปไตยของเหล่านักศึกษารวมทั้งบรรดาประชาชนซึ่งไม่อาจทนต่อความอยุติธรรมได้อีกต่อไป โดยเหตุการณ์นี้ยังคงเป็นที่จดจำมาจนถึงทุกวันนี้… ความกล้าหาญของเหล่าวีรชนที่…เรียกร้องรัฐธรรมนูญ ซึ่งสาเหตุเริ่มต้นมาจาก ‘จอมพลถนอม กิตติขจร’ ก่อการรัฐประหารใน วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ทางด้านนักศึกษารวมทั้งประชาชนจำนวนมากประณามว่าการกระทำในครั้งนี้ เป็นการสืบทอดอำนาจอันไม่ชอบธรรมต่อจาก ‘จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์’ นอกจากนี้ ‘จอมพลประภาส จารุเสถียร’ ก็ยังต่ออายุราชการให้ตนเองจนเสร็จสรรพอีกด้วย เท่านั้นยังไม่พอข่าวเรื่องการทุจริตในวงราชการต่าง ๆ สร้างความไม่พอใจเพิ่มมากขึ้น วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2516 เฮลิคอปเตอร์ทหาร พบซากสัตว์เป็นจำนวนมาก โดยสัตว์เหล่านี้ถูกล่ามาจากทุ่งใหญ่นเรศวร จากความเสื่อมโทรมทั้งหลายนี้ จึงสร้างกระแสความไม่พอใจ ให้แก่นิสิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งประชาชนจำนวนมาก การปะทะที่ทำให้เกิดผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ในเดือน ‘ตุลาคม’ วันที่ 9 ตุลาคม นักศึกษาต่างสถาบันผู้ต้องการทวงถามถึงความยุติธรรทในการปกครอง เริ่มออกมาชุมนุม พร้อมยื่นหนังสือถึง ‘จอมพล ถนอม’ ให้ปล่อย 13 กบฏ […]

Continue Reading
royal-ceremony-Rama-VII

การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของประเทศไทยแต่โบราณ

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือการปกครองในรูปแบบใด ? คือ ระบอบการปกครองประเทศรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีกษัตริย์เป็นผู้ปกครอง กษัตริย์มีสิทธิ์ในการบริหารประเทศ สำหรับระบอบการปกครองนี้ กษัตริย์เป็นทุกๆ อย่างของประเทศ โดยเฉพาะกฎหมาย กฎหมายอยู่ที่กษัตริย์, คำสั่งรวมทั้งความต้องการต่างๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมายทั้งสิ้น กษัตริย์มีอำนาจปกครองแผ่นดินอย่างอิสรเสรี โดยปราศจากกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใดๆ ที่จะสามารถห้ามปรามได้ หากแต่องค์กรทางศาสนา อาจออกเสียงทักท้วงจากการกระทำบางอย่างได้บ้าง นอกจากกษัตริย์ จะถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามธรรมเนียมตามโบราณกาล หากแต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ปราศจากรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใดๆ จะอยู่เหนือกว่ากษัตริย์ได้ สำหรับในเรื่องของทฤษฎีกล่าวว่า กษัตริย์มีอำนาจเหนือประชาชน บางครั้งก็เหนือกว่าศาสนาด้วย ส่วนในทางปฏิบัติจริง กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะถูกจำกัดอำนาจบ้างจากกลุ่มดังกล่าว ยกตัวอย่าง กษัตริย์บางพระองค์ เช่น จักรวรรดิเยอรมนีในปี ค.ศ. 1871-1918 ประกอบด้วยรัฐสภาที่ปราศจากอำนาจ เหมือนกับตั้งขึ้นมาเฉยๆ หาแต่กษัตริย์สามารถแก้ไขได้ตามต้องการ ถึงแม้จะกล่าวว่านี่คือ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หากแต่โดยทางเทคนิคแล้ว นี่คือการปกครองระบอบราชาธิปไตยที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ เพราะการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญรวมทั้งกฎหมายพื้นฐานของประเทศ สำหรับประเทศที่ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งยังดำรงอยู่ ณ ปัจจุบัน ยกตัวอย่าง เช่น… สวาซิแลนด์, ซาอุดิอาระเบีย, บรูไน, โอมาน เป็นต้น ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของประเทศไทย […]

Continue Reading
difference-democracy-and-communist

ความแตกต่างระบอบประชาธิปไตยกับคอมมิวนิสต์

ระบอบการปกครองที่เราได้ยินกันจนคุ้นหูในยุคนี้จะแบ่งออกด้วยกันหลัก 2 ระบอบ ประกอบไปด้วย ระบอบประชาธิปไตยกับระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งทั้งสองระบอบนี้มีรูปแบบการปกครองที่ตรงกันข้ามอย่างสุดขั้ว โดยแต่ละประเทศที่เลือกการปกครองระบอบใดก็ตามนั่นหมายถึงว่าผู้นำของพวกเขาได้ตัดสินใจเลือกมาเป็นอย่างดีแล้ว ดังนั้นลองมาทำความรู้จักกับระบอบการปกครองทั้งสองนี้ให้มากขึ้นพร้อมเรียนรู้ถึงความแตกต่างที่น่าสนใจ ระบบประชาธิปไตย เป็นรูปแบบการปกครองที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ลักษณะการปกครองที่มองภาพให้เข้าใจง่ายสุดคือเหล่าบรรดาผู้นำหรือคนมีอิทธิพลด้านการเมืองทั้งหลายในบริเวณพื้นที่นั้นๆ จะมีการรวมตัวกันเพื่อหวังจัดตั้งรัฐบาลในการบริหารประเทศหรือบริหารแผ่นดิน มีการลงทุนในระบบทีเรียกว่า ทุนนิยม มีการสร้างกฎหมายขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตามและรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นข้างหน้า ประชาชนมีสิทธิ์มีเสียงในการกระทำสิ่งต่างๆ ทว่าปัญหาคือหากผู้ที่ขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศไม่สามารถนำพาประเทศไปในทิศทางที่ดีได้ก็อาจส่งผลเสียตามมาเยอะไม่น้อยเหมือนกัน ระบอบคอมมิวนิสต์ เป็นรูปแบบการปกครองที่นำเอาแนวทฤษฎีของนักปรัชญาระดับโลกผู้ยิ่งใหญ่นามว่า เลนิน และ คาร์ล มาร์ส มาผสมเข้าด้วยกัน พวกเขาเชื่อว่าเสรีภาพการรวมกลุ่มของคนบางคนส่งผลให้ทรัพยากรและความมั่งคั่งภายในประเทศไม่ก่อให้เกิดความต้องการพื้นฐานของตนเองได้ พูดง่าย ๆ คือการใช้เกินตัวนั่นเอง ด้วยเหตุนี้การปกครองในแบบคอมมิวนิสต์จึงเชื่อว่ากรรมสิทธิ์ต่างๆ ควรต้องเป็นของรัฐเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมเกิดขึ้น แต่ปัญหาก็คือผู้คนที่ต้องอยู่กับระบอบคอมมิวนิสต์จะไม่ค่อยมีสิทธิ์มีเสียงในการทำอะไรมากนัก ความแตกต่างระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับระบอบคอมมิวนิสต์ จากความหมายที่กล่าวมาจริงๆ มันค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้วถึงเรื่องความแตกต่างระหว่างสองระบอบการปกครองนี้ แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปอีกจะทำให้เราเห็นภาพชัดขึ้นว่า ประชาธิปไตยเปรียบได้กับการสร้างอุดมการณ์ทางการเมืองและการสร้างรูปแบบการปกครองที่ทุกคนมีอำนาจร่วมกัน มีกฎหมายต่างๆ อย่างเป็นธรรม มีระบบเอกชนเพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่จุดที่ดีขึ้นกว่าเดิม ประชาชนมีสิทธิ์เลือกตัวแทนที่เขาเห็นว่าเหมาะสมเข้าไปทำหน้าที่บริหารประเทศ ประเทศจึงเปรียบเสมือนทุกคนเป็นเจ้าของ ขณะที่คอมมิวนิสต์เน้นลัทธิทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ทุกอย่างต้องเกิดความเท่าเทียม เอกชนจะไม่มีสิทธิ์เข้ามายุ่งเกี่ยวใดๆ การบริหารทุกอย่างขึ้นอยู่กับรัฐบาลเป็นผู้จัดการทุกอย่างถูกจัดไว้อย่างเป็นระบบระเบียบจนบางครั้งก็รู้สึกว่าอึดอัดและไม่เป็นตัวของตัวเองเท่าไหร่นัก

Continue Reading
Democratic-regime-blue

ข้อดี-เสีย ของระบอบการปกครองประชาธิปไตย

คำว่า ระบอบประชาธิปไตยดูจะเป็นระบอบการปกครองที่คุ้นชินกับคนทั่วไปมากที่สุดโดยเฉพาะคนไทยเนื่องจากบ้านเราเองก็ใช้ระบอบการปกครองนี้มายาวนานเช่นกันกับอีกหลายประเทศทั่วโลกที่เลือกใช้การปกครองประเทศโดยยึดถือเอาคนส่วนรวมเป็นสำคัญ ซึ่งการปกครองระบอบดังกล่าวก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว เราลองมาเทียบดูกันว่ามันมีทั้งดีและเสียอย่างไรสำหรับการปกครองระบอบประชาธิปไตยในแบบที่หลายประเทศทั่วโลกนิยม ข้อดีของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ประชาชนจำนวนมากมีสิทธิ์ในการปกครองประเทศอันหมายถึงการเลือกตัวแทนที่ตนเองมองเห็นว่าจะช่วยทำให้ประเทศพัฒนาขึ้นกว่าเดิมเข้าไปบริหารบ้านเมือง อย่างไรก็ตามเสียงข้างน้อยที่เลือกตัวแทนเข้าไปก็ถือเป็นคนพัฒนาประเทศได้เช่นกันเพราะคอยตรวจสอบการทำงานของอีกฝ่ายได้ ประชาชนทุกๆ คนมีสิทธิเสรีภาพในการใช้ชีวิตแบบเดียวกัน เช่น จะมีเงินหรือไม่มีก็ตามสามารถเดินห้างสรรพสินค้าเหมือนกันได้, มีสิทธิ์เลือกตั้งคนที่ตนเองต้องการเข้าไปบริหารบ้านเมืองได้ เป็นต้น มีมาตรฐานของกฎหมายเพื่อใช้ในการปกครองเท่าเทียมกัน กฎหมายดังกล่าวจะใช้บังคับได้กับทุกๆ คนไม่ว่าเขาจะเป็นคนรวยล้นฟ้าหรือมีอำนาจแค่ไหน หากทำผิดกฎหมายก็มีโอกาสได้รับโทษตามที่กฎหมายระบุเอาไว้ ป้องกันปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับประชาชนได้แบบสันติวิธี มีศาลเป็นผู้ตัดสินพิพากษาตามเหมาะสมให้ทุกอย่างอยู่ในกรอบของกฎหมายทำให้ทุก ๆ คนอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข ข้อเสียของการปกครองระบอบประชาธิปไตย การตัดสินใจต่างๆ ล่าช้าเนื่องจากต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอนเกินไป ผ่านผู้พิจารณาหลายหน่วยงานรวมถึงเกิดการปรึกษาหารือที่ไม่ทันท่วงทีในหลายๆ เรื่อง สิ่งไหนเป็นสิ่งเร่งด่วนมักไม่ค่อยได้รับการตอบสนองแบบทันใจ มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการปกครองเยอะ เช่น การจัดการเลือกตั้งต่างๆ ไล่ตั้งแต่ สส. สว. สก. สข. และอื่นๆ ประชาชนในประเทศไม่รู้จักการใช้สิทธิของตนเองอย่างถูกต้องจนนำไปสู่ความวุ่นวายต่างๆ ในบ้านเมืองได้ง่ายนั่นเพราะไม่มีใครสามารถหยุดยั้งการรวมตัวกันเพื่อกระทำบางสิ่งบางอย่างได้แบบเด็ดขาด มีการโน้มเอียงด้านผลประโยชน์ในบางท้องถิ่นเพื่ออำนวยความเหมาะสมให้กับพรรคพวกของตนเองมากกว่าการมองเห็นประโยชน์ส่วนรวมของชาติ อำนาจอยู่ในมือใครฝ่ายนั้นก็มีสิทธิ์กอบโกยเพื่อให้ตนเองได้รับประโยชน์สูงสุด รวมถึงยังมีการกันสิทธิต่างๆ ของบุคคลอื่นด้วย ดังที่บอกว่าการปกครองระบอบประชาธิปไตยก็มีทั้งดีและเสีย กระนั้นหากเราทุกคนสามารถทำตามกฎระเบียบต่างๆ ที่วางเอาไว้ได้ในลึกๆ ของมนุษย์ทุกคนก็ยังชอบการอยู่แบบไม่โดนบังคับมากกว่าการโดนสั่งอยู่แล้ว

Continue Reading
world-war-and-politics

สงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลกระทบต่อการเมืองการปกครองอย่างไร

อย่างที่รู้กันดีว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นสงครามโลกที่มีความรุนแรงมากติดอันดับนับตั้งแต่ที่มนุษย์ที่การเกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้เลยก็ว่าได้ ถือเป็นสงครามที่ทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างจนแทบจะเป็นการเริ่มต้นโลกใบใหม่กันเลยทีเดียว แม้จะกินระยะเวลาแค่ 6 ปี แต่ช่วงหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 กลับเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่างๆ มากมาย จุดเริ่มต้นก็อย่างที่พอจะได้ศึกษาประวัติศาสตร์กันมาก็คือการขึ้นมามีอำนาจของเหล่าบรรดาพรรคนาซีของเยอรมัน

Continue Reading
england-governance-adn-politics

ข้อมูลความรู้ ประวัติศาสตร์การปกครองในประเทศอังกฤษ

ประเทศอังกฤษถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมากๆ ประเทศหนึ่งของโลก แทบทุกยุคทุกสมัยที่มีการบันทึกเรื่องราวของประวัติศาสตร์เอาไว้จะต้องมีประเทศอังกฤษเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ นั่นทำให้คนทั่วโลกย่อมต้องรู้จักประเทศนี้เป็นอย่างดี รวมทั้งภาษาของพวกเขาก็ยังถือเป็นภาษากลางที่ถูกยกให้เป็นภาษาสื่อสารของคนทั้งโลกอีกด้วย ซึ่งจะว่าไปแล้วเมื่อลองมาดูประวัติศาสตร์การปกครองของอังกฤษก็ถือได้ว่ามีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

Continue Reading
revolution-francaise-politics

ข้อมูลความรู้ ประวัติศาสตร์การปกครองในประเทศฝรั่งเศส

ประเทศฝรั่งเศสถือเป็นประเทศหนึ่งที่คนทั่วโลกย่อมรู้จักกันเป็นอย่างดี ตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาฝรั่งเศสเองถือว่ามีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในหลากหลายเรือง แม้กระทั่งในปัจจุบันเองประเทศนี้ก็ยังคงเป็นประเทศที่มีความน่าสนใจอยู่อย่างไม่เสื่อมคลาย ทั้งในด้านของศิลปะ วัฒนธรรม การท่องเที่ยว และอื่นๆ อีกมากมาย ทว่าเรื่องของประวัติศาสตร์การปกครองฝรั่งเศสก็เป็นสิ่งที่มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อยเช่นเดียวกัน หลายคนคงอยากรู้ว่าตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาฝรั่งเศสมีรูปแบบการปกครองในลักษณะใดบ้าง ลองมาทำความ

Continue Reading
politics-form-thailand

ข้อมูลความรู้ ประวัติศาสตร์การปกครองในประเทศไทย

ตั้งแต่สมัยเรียนแม้เราจะทราบกันดีว่าเมืองหลวงของประเทศไทยตั้งแต่เดิมนั้นถูกเปลี่ยนแปลงด้วยกันทั้งหมด 4 ครั้ง เริ่มต้นจากสมัยกรุงสุโขทัยต่อมาก็กลายเป็นกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี กระทั่งปัจจุบันที่เราเรียกกันว่ายุคของกรุงรัตนโกสินทร์ ทว่าหากมีการศึกษารายละเอียดให้ลึกลงไปแล้วจะเห็นว่าการปกครองในช่วงแต่ละสมัยก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเช่นเดียวกัน ซึ่งลองมาทำความเข้าใจกับประวัติศาสตร์การปกครองของไทยแต่ละยุคว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง

Continue Reading
Europea-Governance-public

ข้อมูลความรู้ ประวัติการปกครองในภาคพื้นยุโรป

หากจะย้อนกลับไปถึงความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ยุคอดีตทวีปยุโรปจัดเป็นทวีปที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดเลยก็ว่าได้ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากประวัติศาสตร์ที่ถูกเขียนสืบทอดต่อกันมาเป็นลายลักษณ์อักษรที่มีความชัดเจนไม่ใช่การปรุงแต่งใดๆ ทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ทวีปยุโรปในยุคก่อนหน้าจึงมักมีพัฒนาการในด้านต่างๆ ไปได้รวดเร็วมากกว่าคนในทวีปอื่นๆ เช่นเดียวกับเรื่องของการปกครองที่มีความน่าสนใจเกี่ยวกับพัฒนาการของทวีปยุโรปอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะพัฒนาการการปกครองของยุโรปนั้นส่งผลถึงระบอบการ

Continue Reading
people-impact-on-politics

ประชาชน คือส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางของการเมืองในประเทศ

                การเมือง คือสิ่งที่มาพร้อมกันประชาชนมีไว้เพื่อควบคุมประชากรในประเทศมีการดำรงชีวิตที่เป็นระบบระเบียบ และแน่นอนว่าการเมืองจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องมีประชาชนที่ให้ความสำคัญที่มากพอ เพราะประชาชนจะต้องแสดงสิทธิ ร่วมถึงบทบาทที่ตนเองจะต้องแสดงออกมาเช่น การเลือกตั้ง หรือการคัดสรรค์สิ่งต่างๆ ที่ตนจะที่สิทธิมีเสียงในด้านการเมือง ดังนั้นหากเราจะบอกว่าสิทธิต่อการเมืองก็คือ Political Participation หมายความว่า ประชาชนจำต้อง

Continue Reading