aristotle-inventor-laws

หนึ่งในแนวคิดด้านการเมืองของนักปรัชญาอย่าง อริสโตเติล

ข่าวการเมืองต่างประเทศ

aris1            ในยุคกรีซโบราณนั้นคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า กรีซมีความเจริญและความเป็นเลิศในด้านของความเป็นการเมืองและการปกครองอย่างสูงสุด จนประเทศมหาอำนาจอย่างโรมันหรือดินแดนใกล้เคียงนำแนวคิดเหล่านี้ไปปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองของตนเองในเวลาต่อมา โดยเฉพาะอาณาจักรโรมันที่ได้นำแนวความคิดของกรีซใช้ปกครองกับโรมนั้นเอง ซึ่งอิทธิพลต่างๆ ที่อริสโตเติลได้รับส่วนใหญ่ได้รับมาจากอาจารย์ของเขาอย่าง “เพลโต”

แต่ถึงอย่างนั้น อริสโตเติลก็มีแนวความคิดที่แตกต่างกับ เพลโตที่เป็นอาจารย์ของตนเองอยู่พอสมควร ซึ่งอริสโตเติลมองว่าการส่งมอบอำนาจแก่คนๆ เดียวนับว่าเป็นสิ่งที่ผิดพลาดและไม่สมควร แต่ในขณะที่เพลโตมองว่าการรวมอำนาจให้แก่ผู้ที่มีความรู้มีสิทธิในการปกครองจะดีกว่า โดยอริสโตเติลกล่าวไว้ถึงการปกครองที่มีถึง 6 รูปแบบหลักๆ โดยแบ่งออกในด้านที่ดี 3 แบบ และไม่ดีอีก 3 แบบด้วยกัน

รูปแบบที่ดีที่อริสโตเติลคิด 1.รูปแบบของราชาธิปไตย ที่มีประมุขหรือผู้ที่มีอำนาจปกครองแต่เพียงผู้ได้ แต่ทำเพื่อส่วนรวมไม่หาประโยชน์เข้าตนเอง 2.รูปแบบการปกครองอภิชนาธิปไตย โดยมีกลุ่มคนที่เป็นกลุ่มๆ หนึ่งเป็นตัวแทนของผู้คนที่แต่งตั้งตนเองขึ้นเอง มีใช้กันอย่างกว้างขวางในอดีต 3.รูปแบบการปกครองในแบบโพลิตี้ หรือการปกครองโดยกลุ่มคนที่มีจำนวนมากเข้ามาดูแลประเทศ โดยมีการจัดตั้งผู้บริหารต่างๆ จากเหล่าประชาชนจำนวนมาก โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นศูนย์กลางของกฎหมาย โดยการปกครองในรูปแบบนี้อริสโตเติลมองว่าเป็นรูปแบบที่ดีที่สุด และมีความยุติธรรมมากที่สุดเช่นเดียวกัน เนื่องจากด้วยการที่ได้รับการแต่งตั้งจากเหล่าประชากรในประเทศ และยังช่วยถ่วงดุลอำนาจต่างๆ จากประชาชนในประเทศด้วยกันเอง

ต่อมาจะกล่าวถึงการปกครองในรูปแบบที่ไม่ดี 1.การปกครองของทรราชย์ ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันกับ ราชาธิปไตยแต่แตกต่างกันตรงที่ ทรราชย์จะนำผลประโยชน์ต่างๆ เข้าตนเองแทนที่จะทำเพื่อคนในประเทศ 2.คณาธิปไตย เป็นปกครองของกลุ่มคนเดียวไม่กี่คนแต่สรรหาผลประโยชน์เข้าองค์กรของตนเอง เพื่อความสุขและความสบาย 3.ประชาธิปไตย ถือว่าไม่แตกต่างกันมากนักกับรูปแบบของโพลิตี้ เพราะมันขึ้นอยู่กับความสมดุลในด้านอำนาจของคนในประเทศ

จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ชัดว่าแนวความคิดของ อริสโตเติลนับว่ามีความครอบคลุมตั้งแต่ในอดีตจนมาถึงปัจจุบันได้เป็นอย่างดีเยี่ยม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความปรับเปลี่ยนรูปแบบไปตามกาลเวลาให้เข้ากับยุคสมัยเท่านั้นเอง