rise-of-rome-empire-roman

รูปแบบการเมืองของ จักรวรรดิโรมันที่ยิ่งใหญ่ในอดีตกาล

สาระน่ารู้เกี่ยวกับการเมือง

Roman Empire       ในอดีตนั้นมีเพียงไม่กี่ประเทศที่จะยิ่งใหญ่จนกลายเป็นที่เล่าขานได้เท่า “จักรวรรดิโรมัน” อีกแล้ว ซึ่งตามประวัติศาสตร์แล้วปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอาณาจักรโรมันนั้นยิ่งใหญ่ไพศาลเพียงใด โดยอาณาจักรโรมันได้รวบรวมดินแดนทั้งหมดในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนให้กลายมาเป็น จักรวรรดิโรมันขึ้นในเวลาต่อมา รวมทั้งยังมี 2 ดินแดน ตอนนั้นอย่างประเทศอังกฤษและเยอรมันในปัจจุบัน

ซึ่งกฎหมายต่างๆ หรือแนวคิดที่โรมันได้รับส่วนใหญ่ถูกส่งต่อมาจากชาวกรีซ เพราะเวลานั้นนับว่ากรีซมีความเจริญรุ่งเรื่องอย่างมาก ถึงมากที่สุดในเรื่องความเป็นรัฐศาสตร์ เพราะกรีซมีกฎหมายที่หลากหลายและครอบคลุม บวกกับมีปรัชญาผู้ให้แนวคิดกำเนิดรูปแบบรัฐศาสตร์อยู่มากมาย จึงทำให้โรมันจำเป็นต้องรับแนวคิดนี้มาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการปกครองของประเทศตนเอง โดยแต่เดิมนั้นก่อนจะมาเป็นจักรวรรดิโรมันนั้น โรมันได้แบ่งการปกครองออกถึง 2 แบบด้วยกัน

โดยในระยะแรกเริ่มนั้นได้มีการปกครองภายในกรุงโรมโดยใช้แนวคิด “สาธารณรัฐ” ซึ่งการปกครองแบบที่ว่านี้คือการกระจายอำนาจการปกครองให้แก่ประชาชน โดยมีตัวแทนวุฒิสมาชิกชั้นสูงคอยเป็นปากเสียง แต่ด้วยความที่อำนาจต้องกระจายไปทั่วทำให้ไม่เหมาะที่จะนำกฎเหล่านี้มาปกครองในรูปแบบของจักรวรรดิ เพราะในเวลาต่อมาโรมันเริ่มแพร่ขยายอาณาเขต จึงไม่ได้มีเพียงแค่โรมอีกต่อไปแล้วที่ต้องได้รับความดูแล

ต่อมาในระยะที่สอง ยุคแห่งจักรวรรดิโรมันได้เริ่มถือกำเนิดขึ้นอย่างแท้จริง โดยเป็นในยุคของ ออกัสตัส ซีซาร์ ช่วงปีที่ 27 ก่อนคริสตกาล ออกัสตัสได้แต่งตั้งตนเองขึ้นให้เป็นใหญ่แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น โดยอำนาจทุกอย่างเป็นของประมุขของจักรวรรดิ ให้ตนเองคือส่วนรวมของทุกอย่าง ในเวลานั้นโรมถือได้ว่าเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็ง จนสามารถรวบร่วมดินแดนรอบตนเองได้ทั้งหมด จึงไม่แปลกที่จะมีหลายเชื้อชาติ หลายภาษาปะปนกัน และยากต่อการควบคุม

โดยจากการศึกษามาตลอดในระยะเวลาหลายปีของเหล่า นักรัฐศาสตร์และวัติศาสตร์ได้กล่าวว่า อาณาจักรโรมันเกิดการล่มสลายเพราะระบบที่มีการให้สายเลือดเข้ารับการปกครองต่อจากผู้เป็นบิดา หรือสายเลือดเดียวกัน จึงทำให้มีกษัตริย์หลายองค์ปกครองประเทศด้วยความไม่เอาใจใส่ประเทศและประชาชนนั้นเอง

การเมืองในยุคของเพลโต และความรุ่งเรืองในด้านการเมือง

กรีซในอดีตขึ้นชื่ออย่างมากในเรื่องคิดค้นกฎหมายต่างๆ รวมไปถึงมีปรัชญาในด้านรัฐศาสตร์มากมาย อย่างเช่น “เพลโต” และ “อริสโตเติล” ที่นับว่าเป็นลูกศิษย์และอาจารย์กัน ซึ่งในยุคนั้นนับว่าเป็นยุคแรกเริ่มของการคิดค้นกฎหมายต่างๆ ขึ้น แต่ในที่นี้เราจะขอพูดถึงกฎหมายภายใต้แนวคิดของเพลโตกัน

เพลโตนั้นมีแนวคิดเกี่ยวกับการเมืองที่ว่า ควรที่แบ่งแยกผู้คนออกตามความคิดและความถนัดของตนเอง และเพลโตไม่ต้องการที่จะให้มีการแบ่งอำนาจให้กับผู้ที่ไม่มีความรู้และความสามารถ เพลโตมีความคิดและอุดมคติเชื่อว่า การปกครองควรเป็นของผู้ที่มีการศึกษาและมีความรู้ความสามารถมีสิทธิตัดสินใจในเรื่องการปกครองประเทศ ทำให้เพลโตมองว่า ประชาธิปไตยเป็นศัตรูตัวสำคัญและเป็นความคิดที่ผิดอย่างมาก จึงทำให้เพลโตมีความคิดในด้านการเมืองที่ต้องแบ่งชนชั้นออกเป็น 3 ชนชั้นเช่น

1.ผู้ผลิต เพลโตมองว่าผู้ผลิตเหล่านี้อยู่ในชนชั้นที่หนึ่ง เท่านั้นเพราะเป็นเพียงแค่ประชาชนธรรมดา
2.ทหาร เพลโตจัดให้ทหารเป็นชนชั้นที่สอง เพราะมองว่าทหารเหล่านี้สามารถปกป้องประเทศได้
3.ชนชั้นสุดท้าย หรือชนชั้นที่สาม เพลโตมองว่าชนชั้นสูงสุดนี้ควรจะเป็นของชนชั้นที่มีความรู้และมีความสามารถในการปกครองได้เป็นอย่างดี

นอกจากแนวคิดในการแบ่งชนชั้นของเพลงโตในด้านการเมืองแล้ว เพลโตยังมีความคิดอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญต่อรัฐและสร้างมุมมองอย่างมาก เช่นการที่เราบริหารประเทศหรือมอบสิ่งต่างๆ ที่สามารถสร้างผลดีให้กับประชาชนในประเทศหรือบุคคลในประเทศได้ นั้นก็จะสามารถส่งผลดีให้ประเทศด้วยเช่นกัน ซึ่งก็หมายความว่าหากประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี นั้นก็สามารถบ่งบอกถึงความเจริญก้าวหน้าของประเทศได้เป็นอย่างดีเช่นกัน และยังไม่เพียงแค่ที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้นเพลโตยังเขียนในหนังสือของเขาอีกว่า ภาครัฐจะต้องมีคุณธรรมและสร้างความยุติธรรมแก่ประเทศและประชาชนของตนเอง ซึ่งสุดท้ายหากจะมองว่าแนวความคิดทางด้านการเมืองของเพลโต คือความหมายในด้านของคอมมิวนิสต์ในปัจจุบันก็ไม่ผิดนัก

 

 

หนึ่งในแนวคิดด้านการเมืองของ