difference-democracy-and-communist

ความแตกต่างระบอบประชาธิปไตยกับคอมมิวนิสต์

สาระน่ารู้เกี่ยวกับการเมือง

difference-democracy-and-communist

ระบอบการปกครองที่เราได้ยินกันจนคุ้นหูในยุคนี้จะแบ่งออกด้วยกันหลัก 2 ระบอบ ประกอบไปด้วย ระบอบประชาธิปไตยกับระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งทั้งสองระบอบนี้มีรูปแบบการปกครองที่ตรงกันข้ามอย่างสุดขั้ว โดยแต่ละประเทศที่เลือกการปกครองระบอบใดก็ตามนั่นหมายถึงว่าผู้นำของพวกเขาได้ตัดสินใจเลือกมาเป็นอย่างดีแล้ว ดังนั้นลองมาทำความรู้จักกับระบอบการปกครองทั้งสองนี้ให้มากขึ้นพร้อมเรียนรู้ถึงความแตกต่างที่น่าสนใจ

ระบบประชาธิปไตย

เป็นรูปแบบการปกครองที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ลักษณะการปกครองที่มองภาพให้เข้าใจง่ายสุดคือเหล่าบรรดาผู้นำหรือคนมีอิทธิพลด้านการเมืองทั้งหลายในบริเวณพื้นที่นั้นๆ จะมีการรวมตัวกันเพื่อหวังจัดตั้งรัฐบาลในการบริหารประเทศหรือบริหารแผ่นดิน มีการลงทุนในระบบทีเรียกว่า ทุนนิยม มีการสร้างกฎหมายขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตามและรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นข้างหน้า ประชาชนมีสิทธิ์มีเสียงในการกระทำสิ่งต่างๆ ทว่าปัญหาคือหากผู้ที่ขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศไม่สามารถนำพาประเทศไปในทิศทางที่ดีได้ก็อาจส่งผลเสียตามมาเยอะไม่น้อยเหมือนกัน

ระบอบคอมมิวนิสต์

เป็นรูปแบบการปกครองที่นำเอาแนวทฤษฎีของนักปรัชญาระดับโลกผู้ยิ่งใหญ่นามว่า เลนิน และ คาร์ล มาร์ส มาผสมเข้าด้วยกัน พวกเขาเชื่อว่าเสรีภาพการรวมกลุ่มของคนบางคนส่งผลให้ทรัพยากรและความมั่งคั่งภายในประเทศไม่ก่อให้เกิดความต้องการพื้นฐานของตนเองได้ พูดง่าย ๆ คือการใช้เกินตัวนั่นเอง ด้วยเหตุนี้การปกครองในแบบคอมมิวนิสต์จึงเชื่อว่ากรรมสิทธิ์ต่างๆ ควรต้องเป็นของรัฐเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความเหลื่อมล้ำทางสังคมเกิดขึ้น แต่ปัญหาก็คือผู้คนที่ต้องอยู่กับระบอบคอมมิวนิสต์จะไม่ค่อยมีสิทธิ์มีเสียงในการทำอะไรมากนัก

ความแตกต่างระหว่างระบอบประชาธิปไตยกับระบอบคอมมิวนิสต์

จากความหมายที่กล่าวมาจริงๆ มันค่อนข้างชัดเจนอยู่แล้วถึงเรื่องความแตกต่างระหว่างสองระบอบการปกครองนี้ แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปอีกจะทำให้เราเห็นภาพชัดขึ้นว่า ประชาธิปไตยเปรียบได้กับการสร้างอุดมการณ์ทางการเมืองและการสร้างรูปแบบการปกครองที่ทุกคนมีอำนาจร่วมกัน มีกฎหมายต่างๆ อย่างเป็นธรรม มีระบบเอกชนเพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่จุดที่ดีขึ้นกว่าเดิม ประชาชนมีสิทธิ์เลือกตัวแทนที่เขาเห็นว่าเหมาะสมเข้าไปทำหน้าที่บริหารประเทศ ประเทศจึงเปรียบเสมือนทุกคนเป็นเจ้าของ ขณะที่คอมมิวนิสต์เน้นลัทธิทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ ทุกอย่างต้องเกิดความเท่าเทียม เอกชนจะไม่มีสิทธิ์เข้ามายุ่งเกี่ยวใดๆ การบริหารทุกอย่างขึ้นอยู่กับรัฐบาลเป็นผู้จัดการทุกอย่างถูกจัดไว้อย่างเป็นระบบระเบียบจนบางครั้งก็รู้สึกว่าอึดอัดและไม่เป็นตัวของตัวเองเท่าไหร่นัก