หากบอกว่าเป็นลัทธิก็ไม่น่าจะผิดนัก เพราะหลายๆ ท่านเองก็คงเคยจะได้ยินถึงลัทธิคอมมิวนิสต์อยู่บ่อยๆ โดยทั่วไปแล้วตามความเข้าใจเดิมของระบอบคอมมิวนิสต์ ก็คือการรวบรวมอำนาจเพียงหนึ่งมารวมไว้ที่ๆ พรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว ซึ่งจะแตกต่างจากประชาธิปไตยที่จะมีพรรคฝ่ายค้านที่ถูกแต่งตั้งจากจำนวนเสียงที่น้อยกว่าที่มาเป็นอันดับ 2
โดยพรรคที่ได้รับการยอมรับจากคนในประเทศจะสามารถใช้กำลังการทหาร หรือได้รับการสนับสนุนจากกองทัพอย่างเต็มที่เพื่อมีสิทธิภาพมากพอในการปกครองเทศของตนเอง ในสมัยอดีตรัสเซียเองก็เคยใช้ระบอบการปกครองนี้ ในการปกครองบ้านเมืองของตนเองในสมัยที่ยังเป็น “สหภาพโซเวียต” อยู่ แต่ต่อมาในวันที่ 12 ธันวาคม ปีพ.ศ.1993 รัสเซียได้เปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญใหม่ จึงเปลี่ยนตนเองให้เป็น “สหพันธรัฐ” ในปัจจุบัน แต่ก็ต้องยอมรับว่าระบอบการปกครองในรูปแบบของคอมมิวนิสต์ ยังมีให้เห็นอยู่ในหลายๆ ประเทศไม่น้อยเลย เช่น เกาหลีเหลือ เป็นต้น
แต่หลายๆ คนก็ยังคงเข้าใจผิดเกี่ยวกับการปกครองระหว่าง ระบอบเผด็จการและระบอบคอมมิวนิสต์อยู่ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วระบอบเผด็จการนั้นความเด็ดขาดยังน้อยกว่าระบอบการปกครองในรูปแบบคอมมิวนิสต์อยู่มากพอสมควรเลย เพราะระบอบการปกครองในด้านการเมืองของคอมมิวนิสต์จะคอยควบคุมประชาชนในประเทศ รวมไปถึงเศรษฐกิจและการปกครองภายในประเทศจะต้องเป็นไปตามความต้องการของผู้นำคอมมิวนิสต์แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น จึงไม่แปลกที่จะบอกว่าคอมมิวนิสต์ ก็คือระบอบการปกครองเผด็จการในแบบรูปเบ็ดเสร็จถ้วนทั่ว
แต่ก็ใช่ว่าระบอบเผด็จการจะเป็นสิ่งไม่ดี และไม่เป็นประสบผลสำเร็จสะทีเดียว เพราะก็ยังมีบางประเทศที่ยังคงปกครองในรูปแบบนี้ และยังยึดมันการปกครองของตนอยู่อย่างเช่น “จีน” ซึ่งจีนถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมากในด้านการปกครอง เพราะจีนสามารถนำรูปแบบการปกครองที่สามารถเข้าได้ดีกับประเทศของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะจีนมีแผ่นดินที่ใหญ่จึงทำให้การปกครองแบบคอมมิวนิสต์เป็นไปได้อย่างดีเยี่ยม และจีนยังได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของตนเองให้มีความคล่องตัวเช่น จีนจะไม่จำกัดเสรีภาพในเรื่องเศรษฐกิจนั่นเอง